Mar 27

Micro-Satellite Workshop : 2013-03-21

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2556 อ.คัมภีร์ ธีระเวช จากสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ มรรพ. เดินทางไปเข้าร่วมการสัมมนา “Micro-Satellite Workshop” ที่สถาบันเอไอที โดย ศาสตราจารย์ ยูคิฮิโร ทาคาฮาชิ (Prof.Yukihiro Takahashi) ผู้อำนวยการ Space Mission Center จากมหาวิทยาลัยฮอกไกโด จัด workshop เกี่ยวกับดาวเทียมขนาดเล็ก เรียกว่า Micro-satellte ซึ่งขนาดของดาวเทียมแบบนี้ก็ประมาณ 50x50x50 ซ.ม. ใช้ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 1 – 2 ล้านยูโร แล้วก็ให้ภาพที่มีความละเอียดได้ประมาณ 5 เมตร

ที่น่าสนใจก็คือกล้องที่นำเสนอให้ดูนั้นเป็นกล้องแบบ “hyper-spectral” ที่ใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ โดยผู้ใช้สามารถ “เลือกความยาวคลื่น” ที่่ต้องการถ่ายได้ ประมาณว่าตัว CCD หรือตัวฟิลเตอร์หน้า CCD มันสามารถปรับรูปร่างตัวเองเพื่อกรองเอาเฉพาะแสงช่วงคลื่นที่ต้องการ เทคนิคแบบนี้ทำให้การปรับระหว่างความยาวคลื่นแต่ละค่าใช้เวลาประมาณ 10 ns และก็ถ่ายได้ครั้งละหลายร้อยช่วงคลื่น

วัตถุประสงค์อย่างหนึ่งของการคุยกันครั้งนี้ก็คือการให้ประเทศแถบ ๆ เอเชียนี่มีดาวเทียมขนาดเล็กแบบนี้เป็นของตัวเอง เพื่อจะได้มี “ระบบดาวเทียม” ที่เป็นของภูมิภาคนี้ที่จะช่วยให้การ monitor เหตุการณ์ต่าง ๆ ให้เร็วขึ้น ซึ่งประมาณว่าถ้าส่งไปได้ 40 ดวงกว่า ๆ นั้นก็จะทำให้เราสามารถ monitor พื้นที่แถวนี้ได้ทุก ๆ แปดนาที

Mar 27

G-Space Workshop : 2013-02-21

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2556 อ.วีระศักดิ์ ปรึกษา หัวหน้าสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ มรรพ. และ อ.คัมภีร์ ธีระเวช ไปเข้าร่วมประชุม “Resource Development for Space and Social Infrared Service” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอบรม “Workshop for Interdisciplinary Education Program for Innovation of Space Application”  ที่สถาบันเอไอที

การอบรมนี้จัดโดยความร่วมมือระหว่างสถาบันเอไอที, มหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo), มหาวิทยาลัยเคโอะ (Keio University) จากประเทศญี่ปุ่น โดยมีผู้เข้าร่วมอบมจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตร, มหาวิทยาลัยมหิดล และอีกหลายที่  สาระสำคัญของงานนี้เป็นความพยายามในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันอุดมศึกษา) ในประเทศไทย เพื่อช่วยกันสร้าง infrastructure ด้านภูมิสารสนเทศร่วมกัน

Sep 15

ประชุมเตรียมความพร้อม MOU : 2012-09-15

เมื่อวันที่15 ก.ย. 2555 เวลา 10:00 อ.วีระศักดิ์ ปรึกษา ในฐานะหัวหน้าสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ มรรพ., คณาจารย์และนักศึกษา สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ ได้จัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้อง 35401 เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำ MOU กับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)

โดยที่ประชุมได้กำหนดทำ MOU ระหว่างสาขาวิชา, พอช. และภาคีชุมชน ในด้านที่เกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลสารสนเทศชุมชน ในการสบับสนุนการทำผังตำบล พื้นที่การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน จังหวัดจันทบุรี วันที่ 12 ตุลาคม 2555 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Sep 04

เข้าร่วมสัมนา MiniUAV : 2012-08-31

คณาจารย์จากสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ มรรพ. ประกอบด้วย อ.วีระศักดิ์ ปรึกษ (หัวหน้าสาขา), อ.วิระ ศรีมาลา และ อ.วิชาญ ทุมทอง เข้าร่วมการสัมนาเรื่อง “การทำแผนที่ด้วยอากาศยานขนาดเล็กไร้คนขับ” ซึ่งจัดโดยรศ. ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์, ผศ. ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พันเอก ดร. กนก วีรวงศ์, ดร. ศรีสุข จันทรางสุข ผู้เชี่ยวชาญการคมนาคมและการบินพลเรือน  เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2555 เวลา 09:00 – 15:00

 

Aug 15

ประชุมร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) : 2012-08-15

วันที่ 15 สิงหาคม 2555 เวลา 13:00 น.  ทางสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ  มรรพ. ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช., ผู้แทนเครือข่ายการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน จังหวัดจันทบุรี และ
ผู้แทนเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน จังหวัดจันทบุรี ได้ร่วมประชุมเวทีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชน เพื่อการจัดทำข้อมูลสารสนเทศชุมชนในการสนับสนุนการทำผังตำบล พื้นที่การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน จังหวัดจันทบุรี  ณ ห้องประชุม 35401 อาคารเฉลิมพระเกียรติ

Aug 13

ความก้าวหน้างานวิจัย : UAV (2012-08-12)

อ.วิชาญ ทุมทอง หัวหน้าโครงการวิจัย UAV ได้ไปติดตามความก้าวหน้าในการสั่งประกอบเครื่อง UAV สำหรับการทดลองขั้นต้น โดยอ.วิชาญกล่าวว่า “ได้ทดสอบระบบบางส่วนแล้วครับ เป็นเครื่อง โมดิฟายเฟรม Airskipper GS ด้วยเครื่อง Zenoah G260 PUH เป็นเครื่องเบนซซิน 1 ถัง บิน40 นาที ยกโหลด 5กก. เพิมได้ถึง 8 กก. โดยการเพิมความยาวหางและใบพัด รีโมต jR XG11. 11 ช่องสัญญาณ คุมคอปเตอร์ 6 ช่อง 3 ช่องคุมกล้อง 1 ช่องปิดเครื่องยนต์ ระยะต่อไปทำระบบรับส่งข้อมูลครับ”

Aug 10

อบรมการใช้ GPS จ.ตราด : 8 – 9 ส.ค. 55

 

คณาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ มรรพ. ลงพื้นที่ร่วมโครงการ “การพัฒนาชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วม” โดยร่วมเป็นวิทยาการในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้เครื่อง GPS ในการสำรวจและจัดการข้อมูลทรัพยากรชายฝังทะเล” ที่จัดโดยสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน  มรรพ. ที่อบต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด ระหว่างวันที่ 8 – 9 สิงหาคม 2555

Aug 06

ประชาสัมพันธ์งานวิจัย 6 – 7 ส.ค.55 ที่โรงแรม KP Grand

อ.วิระ ศรีมาลา หัวหน้าโครงการวิจัย กับผลงานเครื่องต้นแบบเซนเซอร์ไร้สาย

 

อ.วิระ ศรีมาลา และ อ.ไพศาล โยมญาติ

นักศึกษาคณะ CSIT ที่มาช่วยงาน

Jul 05

ประชุมร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2555 คณาจารย์สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ มรรพ. ประกอบด้วย อ.วีระศักดิ์ ปรึกษา (หัวหน้าสาขา), อ.วิระ ศรีมาลา, ผู้ช่วยนักวิจัย ได้แก่นายพงศ์พิบูลย์ ตนุวงษ์วิวัฒน์ และนักศึกษาสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ ชั้นปีที่สอง รวมห้าคน ได้เดินทางไปร่วมประชมกับคณะวิจัยจากสถาบันอื่น ๆ ที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อสรุปความก้าวหน้าและหารือแนวทางการดำเนินการวิจัยการพัฒนา

อาจารย์วิระ ศรีมาลา

 

นายสิทธิพร, นายพงศ์พิบูลย, อ.วีระศักดิ์ และนายจักรัฐ