Jun 10

ประชุมวางแผนการทำงานที่อบต.แหลมกลัด : 2014-06-10

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2557 คณาจารย์และนักศึกษาในสาขาวิชา ฯ ได้ดำเนินการประชุมวางแผนการทำงานเรื่องการเก็บข้อมูลและการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดบริการวิชาการเรื่องการจัดทำเว็บไซต์แสดงข้อมูลและแผนที่เส้นทางเที่ยวชมแมงกระพรุน พื้นที่ ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

Apr 24

ขอเชิญส่งข้อเสนอโครงการ

ด้วยสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี มีความประสงค์จะเผยแพร่เทคโนโลยีการสร้างภาพถ่ายออร์โธหรือแผนที่สามมิติ โดยใช้ข้อมูลภาพจากอากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicle) หรือยูเอวี โดยสาขาวิชาฯ จะให้บริการถ่ายภาพถ่ายทางอากาศจากยูเอวีและสร้างข้อมูลภาพออร์โทและแผนที่สามมิติให้กับหน่วยงานต่าง ๆ

ในการนี้ สาขาวิชาฯ จึงขอเชิญหน่วยงานที่สนใจส่งข้อเสนอโครงการ ขนาด A4 จำนวน 1 หน้า ที่ประกอบด้วย :

  • ชื่อโครงการ
  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • บทคัดย่อ
  • ขนาดพื้นที่ศึกษา และ
  • รูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการ

โดยส่งข้อเสนอเป็นรูปแบบไฟล์ PDF มาที่ kumpee(at)rbru.ac.th หรือ kumpee.teeravech(at)yahoo.com ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 และจะประกาศรายชื่อข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือกบนเว็บไซต์นี้ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2556

สาขาวิชาฯ จะคัดเลือกข้อเสนอที่น่าสนใจเพื่อบินถ่ายภาพและผลิตข้อมูลให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จำนวน 5 โครงการ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับยูเอวีที่ให้บริการ :

  • ระดับความสูง : 50 – 1000 เมตร
  • ความละเอียดภาพ : 4000×3000 พิกเซล
  • ความละเอียดเชิงพื้นที่ : 0.25 – 2.00 เมตร
  • จำนวนภาพ : ไม่เกิน 300 ภาพ
  • ขนาดพื้นที่ : ไม่เกิน 4 ตารางกิโลเมตร
  • เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 1 วัน
  • เวลาที่ใช้ในการประมวลผลภาพข้อมูล : 1 วัน

ตัวอย่างข้อมูลผลลัพธ์ :

รายชื่อหน่วยงานที่ส่งข้อเสนอมา:

  • 6 มิ.ย. 2556 : เทศบาลตำบลซากไทย จังหวัดจันทบุรี
  • 29 พ.ค. 2556: อุทธยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี
  • 28 พ.ค. 2556: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

 

Aug 13

ความก้าวหน้างานวิจัย : UAV (2012-08-12)

อ.วิชาญ ทุมทอง หัวหน้าโครงการวิจัย UAV ได้ไปติดตามความก้าวหน้าในการสั่งประกอบเครื่อง UAV สำหรับการทดลองขั้นต้น โดยอ.วิชาญกล่าวว่า “ได้ทดสอบระบบบางส่วนแล้วครับ เป็นเครื่อง โมดิฟายเฟรม Airskipper GS ด้วยเครื่อง Zenoah G260 PUH เป็นเครื่องเบนซซิน 1 ถัง บิน40 นาที ยกโหลด 5กก. เพิมได้ถึง 8 กก. โดยการเพิมความยาวหางและใบพัด รีโมต jR XG11. 11 ช่องสัญญาณ คุมคอปเตอร์ 6 ช่อง 3 ช่องคุมกล้อง 1 ช่องปิดเครื่องยนต์ ระยะต่อไปทำระบบรับส่งข้อมูลครับ”

Aug 06

ประชาสัมพันธ์งานวิจัย 6 – 7 ส.ค.55 ที่โรงแรม KP Grand

อ.วิระ ศรีมาลา หัวหน้าโครงการวิจัย กับผลงานเครื่องต้นแบบเซนเซอร์ไร้สาย

 

อ.วิระ ศรีมาลา และ อ.ไพศาล โยมญาติ

นักศึกษาคณะ CSIT ที่มาช่วยงาน

Jul 05

ประชุมร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2555 คณาจารย์สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ มรรพ. ประกอบด้วย อ.วีระศักดิ์ ปรึกษา (หัวหน้าสาขา), อ.วิระ ศรีมาลา, ผู้ช่วยนักวิจัย ได้แก่นายพงศ์พิบูลย์ ตนุวงษ์วิวัฒน์ และนักศึกษาสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ ชั้นปีที่สอง รวมห้าคน ได้เดินทางไปร่วมประชมกับคณะวิจัยจากสถาบันอื่น ๆ ที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อสรุปความก้าวหน้าและหารือแนวทางการดำเนินการวิจัยการพัฒนา

อาจารย์วิระ ศรีมาลา

 

นายสิทธิพร, นายพงศ์พิบูลย, อ.วีระศักดิ์ และนายจักรัฐ

 

Jun 19

ประชุมติดตามความก้าวหน้า : UAV (2012-06-19)

คณะผู้ร่วมทำงานวิจัยเรื่อง ระบบสร้างแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแบบกึ่งอัตโนมัติโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ สำหรับการทำแผนที่ชุมชน ได้ประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำงานวิจัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 โดยมีคณาจารย์ในสาขาวิชาและผู้ช่วยนักวิจัยร่วมประชุมจำนวน 5 คน  โดยการประชุมเพื่อพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ของส่วนฮาร์ดแวร์ควบคุมการบินและการถ่ายภาพ ซึ่งระบบนี้มีอาจารย์วิชาญ ทุมทอง เป็นผู้รับผิดชอบ

(ซ้าย) อาจารย์วิชาญ ทุมทอง หัวหน้าโครงการ (ขวา) อาจารย์วีระศักดิ์ ปรึกษา (หลังกล้อง) อาจารย์วิระ ศรีมาลา เป็นผู้ถ่ายภาพ

 

(ซ้าย) นายพงศ์พิบูลย์ ตนุวงษ์วิวัฒน์ (ขวา) อาจารย์คัมภีร์ ธีระเวช

Jun 05

ประชุมติดตามความก้าวหน้า : UAV

คณะผู้ร่วมทำงานวิจัยเรื่อง ระบบสร้างแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแบบกึ่งอัตโนมัติโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ สำหรับการทำแผนที่ชุมชน ได้ประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำงานวิจัย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555 โดยมีคณาจารย์ในสาขาวิชาและผู้ช่วยนักวิจัยร่วมประชุมจำนวน 5 คน

(ซ้าย) อ.วิระ ศรีมาลา (ขวา) อ.วีระศักดิ์ ปรึกษา

(ซ้าย) อ.คัมภีร์ ธีระเวช (กลาง) นายพงศ์พิบูลย์ ตนุวงษ์วิวัฒน์ (ผู้ช่วยนักวิจัย) และ (ขวา) อ.วิชาญ ทุมทอง หัวหน้าโครงการวิจัย

 

Feb 06

WRSENSOR : 2nd Testing

ข้อมูลจากเครื่องวัดอุณหภูมิ,ความชื้นและความเข้มแสงต้นแบบของ อ.วิระ ศรีมาลาและคณะ ขณะนี้ออนไลน์เรียบร้อยแล้วห้าตัวครับ อีกสองตัวยังอาการไม่เข้าที่ ลองเข้าไปดูข้อมูลสด ๆ ทุก 5 นาทีได้ที่ (http://org.rbru.ac.th/~gi/wrsensor54/showdata.php) ภายในสัปดาห์หน้านี้คงจะเอาไปลองที่สนามหน้าคณะแล้วล่ะครับ

ตัวอย่างข้อมูลที่ถูกส่งมาเก็บที่เครื่อง server

ตอนนี้เราวางอุปกรณ์ฝั่งเครื่องส่งสัญญาณไว้ที่คานประตู้หน้าห้องทำงานที่คณะครับ (ในภาพอาจจะรก ๆ หน่อย) อุปกรณ์ทำงานได้โดยใช้ไฟ 9V ซึ่งได้จากการต่อแบตเตอร์รี่ 1.5V จำนวน 6 ก้อน

Feb 03

2012-FEB-01 : อ.วีระศักดิ์และคณะออกสำรวจพื้นที่ตำบลตะกาง จังหวัดตราด

อ.วีระศักดิ์ ปรึกษา หัวหน้าสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ สำรวจพื้นที่ทำวิจัยบริเวณป่าชายเลยในพื้นที่ตำบลตะกาง-ท่าพริก จังหวัดตราด ระหว่าง 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2555  โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันกับองค์กรในท้องถิ่นเพื่อสำรวจและ จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง