Jun 19

ประชุมติดตามความก้าวหน้า : UAV (2012-06-19)

คณะผู้ร่วมทำงานวิจัยเรื่อง ระบบสร้างแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแบบกึ่งอัตโนมัติโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ สำหรับการทำแผนที่ชุมชน ได้ประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำงานวิจัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 โดยมีคณาจารย์ในสาขาวิชาและผู้ช่วยนักวิจัยร่วมประชุมจำนวน 5 คน  โดยการประชุมเพื่อพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ของส่วนฮาร์ดแวร์ควบคุมการบินและการถ่ายภาพ ซึ่งระบบนี้มีอาจารย์วิชาญ ทุมทอง เป็นผู้รับผิดชอบ

(ซ้าย) อาจารย์วิชาญ ทุมทอง หัวหน้าโครงการ (ขวา) อาจารย์วีระศักดิ์ ปรึกษา (หลังกล้อง) อาจารย์วิระ ศรีมาลา เป็นผู้ถ่ายภาพ

 

(ซ้าย) นายพงศ์พิบูลย์ ตนุวงษ์วิวัฒน์ (ขวา) อาจารย์คัมภีร์ ธีระเวช

Jun 05

ประชุมติดตามความก้าวหน้า : UAV

คณะผู้ร่วมทำงานวิจัยเรื่อง ระบบสร้างแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแบบกึ่งอัตโนมัติโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ สำหรับการทำแผนที่ชุมชน ได้ประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำงานวิจัย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555 โดยมีคณาจารย์ในสาขาวิชาและผู้ช่วยนักวิจัยร่วมประชุมจำนวน 5 คน

(ซ้าย) อ.วิระ ศรีมาลา (ขวา) อ.วีระศักดิ์ ปรึกษา

(ซ้าย) อ.คัมภีร์ ธีระเวช (กลาง) นายพงศ์พิบูลย์ ตนุวงษ์วิวัฒน์ (ผู้ช่วยนักวิจัย) และ (ขวา) อ.วิชาญ ทุมทอง หัวหน้าโครงการวิจัย

 

May 22

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศเข้าพบ

คณาจารย์สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ มรรพ. มีความยินดีที่ได้ต้องรับคณะเจ้าหน้าที่จาก “สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)” กระทรวงกลาโหม หรือ “สทป” จำนวน 3 ท่าน  โดยทาง สปท. ได้เข้าพบคณบดีคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และได้ร่วมประชุมกับคณาจารย์ในสาขาวิชาภูมิสารสนเทศเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนางานวิจัยร่วมกัน

 

 

Apr 25

ลงพื้นที่ ตำบลไม้รูด อำเภอ คลองใหญ่ จังหวัดตราด

ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ 2535   คณะวิทยาการคอมฯ สาขา ภูมิสารสนเทศ  ได้นำคณะอาจารย์ และนักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม การฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ด้านช่ายฝั่งทะเล  ในเขตพื้นที่ ตำบลไม้รูด อำเภอ คลองใหญ่ จังหวัดตราด  ด้วยความร่วมมือของ คนในชุมชน ไม้รูด และเยาวชน ของพื้นที่ โดย มีการอบรมสอน การใช้เครื่องมือ GPS    ซึ่งมีความสัมพันธ์ ในด้านของการตรวจสอบ พื้นที่ชายฝั่งทะเล  และได้มการทดลองใช้เครื่องมือ GPS กับสถานที่จริง ในเขตพื้นที่

การบรรยายการให้ความรู้เรื่อง GPS

การสอนการใช้เครื่องมือGPS

Apr 17

การร่วมประชุมแผนการพัฒนางานวิจัยเรื่อง “Semi-Automatic Aerial Photo Mapping Systems using Unmanned Aerial Vehicle for Community Mapping”

ในวันที่ 15 มีนาคม 2555 คณะวิทยาการคอมฯ สาขา ภูมิสารสนเทศ ได้มีการจัดประชุมแผนการพัฒนา “Semi-Automatic Aerial Photo Mapping Systems using Unmanned Aerial Vehicle for community Mapping” โดยได้เชิญ ท่าน Dr.มาซาฮิโกะ นากาอิ (Dr.Masahigo Nagai) มาร่วมบรรยายและแนะนำเกี่ยวกับงานวิจัยต่าง ๆ ที่น่าสนใจและเป็นสิ่งสำคัญในอนาคต เช่น Ontology การสำรวจด้วยเซ็นเซอร์ เป็นต้น ซึ่ง Dr.มาซาฮิโกะ นากาอิ มีงานวิจัยที่กำลังศึกษาและดำเนินการคือ UAV (Unmanned Aerial Vehicles) หรือ อากาศยานไร้คนขับ

 

ดร.มาซาฮิโกะ นากาอิ และคณาจารย์สาขาภูมิสารสนเทศ เข้าร่วมประชุมแผนพัฒนาวิจัยฯ

 

ดร.มาซาฮิโกะ นากาอิ นำเสนองานวิจัยที่กำลังสนใจ

Feb 06

WRSENSOR : 2nd Testing

ข้อมูลจากเครื่องวัดอุณหภูมิ,ความชื้นและความเข้มแสงต้นแบบของ อ.วิระ ศรีมาลาและคณะ ขณะนี้ออนไลน์เรียบร้อยแล้วห้าตัวครับ อีกสองตัวยังอาการไม่เข้าที่ ลองเข้าไปดูข้อมูลสด ๆ ทุก 5 นาทีได้ที่ (http://org.rbru.ac.th/~gi/wrsensor54/showdata.php) ภายในสัปดาห์หน้านี้คงจะเอาไปลองที่สนามหน้าคณะแล้วล่ะครับ

ตัวอย่างข้อมูลที่ถูกส่งมาเก็บที่เครื่อง server

ตอนนี้เราวางอุปกรณ์ฝั่งเครื่องส่งสัญญาณไว้ที่คานประตู้หน้าห้องทำงานที่คณะครับ (ในภาพอาจจะรก ๆ หน่อย) อุปกรณ์ทำงานได้โดยใช้ไฟ 9V ซึ่งได้จากการต่อแบตเตอร์รี่ 1.5V จำนวน 6 ก้อน

Feb 03

2012-FEB-01 : อ.วีระศักดิ์และคณะออกสำรวจพื้นที่ตำบลตะกาง จังหวัดตราด

อ.วีระศักดิ์ ปรึกษา หัวหน้าสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ สำรวจพื้นที่ทำวิจัยบริเวณป่าชายเลยในพื้นที่ตำบลตะกาง-ท่าพริก จังหวัดตราด ระหว่าง 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2555  โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันกับองค์กรในท้องถิ่นเพื่อสำรวจและ จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

Jan 29

MAEMOHPP54 : Overview

อ.วิชาญ ทุมทอง ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้านระบบฐานข้อมูลเพื่อนการสื่อสารองค์การ ฝ่ายประชาสัมพันธ์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กพฝ.) เพื่อจัดทำระบบสารสนเทศภายในหน่วยงานฯ  โดย อ.วิชาญได้ออกสำรวจโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และเหมืองถ่านหินแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เมื่อปลายปี 2554

Jan 29

WRSENSOR : Prototypes

ภาพด้านล่างนี้เป็นครื่องต้นแบบทั้งแปดเครื่องที่จะนำไปใช้ในงานวิจัยเครือข่ายไร้สายฯของ อ.วิระ และคณะ โดยเครื่องมุมขวาล่างเป็นเครื่องรับที่จะติดตั้งไว้กับคอมพิวเตอร์จึงมีแต่เฉพาะ RF module เท่านั้น ส่วนเครื่อง ๆ จะมีทั้ง RF module และเซนเซอร์

เครื่องต้นแบบทั้งแปดเครื่อง

Jan 27

อ.วีระศักดิ์และคณะออกสำรวจพื้นที่ตำบลตะกาง จังหวัดตราด

อ.วีระศักดิ์ ปรึกษา หัวหน้าสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ อ.วิระ ศรีมาลา และ อ.วิชาญ ทุมทอง ได้ออกสำรวจพื้นที่ทำวิจัยบริเวณป่าชายเลยในพื้นที่ตำบลตะกาง-ท่าพริก จังหวัดตราด ระหว่าง 25 – 26 มกราคม 2555  โดยการสำรวจนี้อาจารย์ของสาขาเราได้ไปสำรวจฝากชะลอน้ำบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันกับองค์กรในท้องถิ่นเพื่อสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง